วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรื่อง ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ

เรื่อง ในหลวงในดวงใจตามโครงการพระราชดำริ

โครงการพระราชดำริฝนหลวง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

โครงการฝนหลวง คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร

ประวัติ


เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ " ฝนหลวง " ให้กับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง ต่อไป



วิธีการทำฝนหลวง




ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ


ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป 



ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้





ประโยชน์ของการทำฝนหลวง


1.เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งให้เกษตรได้มีน้ำใช้ตลอดหน้าแล้งทำให้ชาวบ้านชาวนาได้มีน้ำสะสมไว้ทำเกษตรกรปลูกไร่ทำสวนใช้อุปโภคบริโภค
2.เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำในการค้าขายพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้ยั่งยืน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง
3.เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฝนหลวง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฝนหลวง

การทำฝนหลวง





แหล่งที่มา:1.http://dit.dru.ac.th/ka/a31.php

               2.http://www.royalrain.go.th/royalrain/m/royalinitiativeproject

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ความหมาย

การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยส่งผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

การสื่อสารข้อมูล (datacommunication) หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication) เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
1


1. ข่าวสาร (message)  ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร 

2. ผู้ส่ง (sender)ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) ส่งข้อมูล

3. ผู้รับ (receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ เช่น จานดาวเทียม 

4. สื่อกลางหรือตัวกลาง (media) ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ :สายไฟ ขดลวด 

5. โพรโตคอล (protocol) เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ สื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

6. ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์

2.การสื่อสารข้อมูล
สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสื่อสารข้อมูลสําหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.4

1.สื่อกลางทางกายภาพ
1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
– สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
– สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง
2.สื่อกลางประเภทไร้สาย
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
2.3  แสงอินฟราเรด (Infrared) แสงอินฟราเรด เป็นคลื่นความถี่สั้น  เป็นตัวกลางในการสื่อสารอีกแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายไมโครเวฟ เป็นแสงที่มีทิศทางในระดับสายตา
2.4คลื่นวิทยุ (Radio Wave)การสื่อสารประเภทนี้จะใช้การส่งคลื่นไปในอากาศ เพื่อส่งไปยังเครื่องรับวิทยุโดยรวมกับคลื่นเสียงมีความถี่เสียงที่เป็นรูป แบบของคลื่นไฟฟ้า ดังนั้นการส่งวิทยุกระจายเสียงจึงไม่ต้องใช้สายส่งข้อมูล 
ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูล

แหล่งที่มา:https://jobmc.wordpress.com
             https://amata20120813914194.wordpress.com




















วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์

โครงงานเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน  โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สรุป ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
  1. ความมีเหตุผล  คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ
  2. ความพอเพียง  คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  4. การมีความรู้  คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
  5. การมีคุณธรรม  คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


 พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541

“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้
แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน 
ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน 
ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”